บิ้วอิน (Built-in) ใช้ไม้อะไร ?

ปัจจุบันงานบิ้วอินเฟอร์นิเจอร์ (Built-in furniture) ได้แพร่หลายและเป็นที่นิยมกันมาเนื่องจากเป็นเฟอร์นิเจอร์ที่เข้ากับพื้นที่ห้องพอดีและทำตามความต้องการของลูกค้าได้ สามารถเลือกรูปแบบที่ต้องการจะให้เป็นได้ ซึ่งในบางโอกาสหากเราเลือกซื้อเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเพื่อมาวางในห้องของเราอาจจะไม่ตอบโจทย์ก็เป็นได้ เนื่องจากเฟอร์นิเจอร์ลอยตัวเป็นเฟอร์นิเจอร์สำเร็จเราไม่สามารถเลือกแบบหรือขนาดเพื่อให้เข้ากับพื้นที่ของเราได้ ในบทความนี้จึงนำเสนอไม้แต่ละประเภทที่ใช้กันในงานบิ้วอินเฟอร์นิเจอร์ คุณสมบัติ ข้อดี ข้อเสียของไม้แต่ละประเภท

Wood (ไม้แท้ หรือ ไม้จริง)

ไม้จริง หรือ ไม้แท้ สามารถแยกออกได้ ไปหลากหลายชนิดเช่นกัน นอกจากนี้แล้ว เนื้อไม้ของไม้แท้ กับอายุของเนื้อไม้ที่โตแล้ว ก็มีความแตกต่างกันมากในเรื่องของราคาและการนำมาใช้งาน แม้จะเป็นไม้ประเภทเดียวกัน ชนิดเดียวกันก็ตาม ส่วนใหญ่จะนับเป็นแบบ หน้าไม้ท่อน ตั้งแต่ 1 นิ้วขึ้นไป เรื่องความหนาไม่ต้องเป็นห่วงเลย เพราะเป็นไม้เนื้อเดียว จากธรรมชาติเลยจริงๆ ไม่ได้ถูกบด แล้วนำมาบีบอัดทีหลัง เหมือนไม้ที่กล่าวมาด้านบน ดังนั้นความทนทานจะสูงมากๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องทำการอบน้ำยาเพื่อป้องกันเชื้อรา แมลง ปลวก มอดกินไม้ ต่างๆ ด้วย

ข้อดีข้อเสีย
มีความแข็งแรง ทนทาน ราคาแพงที่สุด หายาก
ลวดลายสวย ธรรมชาติ ลายไม้แตกต่างแบบเฉพาะไม้อายุน้อย อาจไม่แข็งแรง
ระวังเรื่องปลวกและแมลงต่างๆ
ควรหมั่นทาน้ำยารักษาเนื้อไม้ สม่ำเสมอ

Plywood (ไม้อัด)

ไม้อัด จะมีกระบวนการผลิตโดยที่ นำไม้มาปอกเปลือกชั้นนอกที่ตะปุ่มตะป่ําออกไปออกไป ต่อไปเป็นกระบวนการ ทำให้บาง และ อัดเป็นชั้นๆ จนแน่น หลังจากนั้นนำไปผ่านกระบวนการทางเคมี ซึ่งอาจเป็นการนำมาผสมกับกาวร้อนหรือกาวเย็น ตามสูตรเฉพาะ ของโรงงานผลิตไม้ในแต่ละที่ และ ปิดผิวด้วยเยื่อบุไม้ ซึ่งไม้อัด นั้นก็ทำมาจากไม้ชนิดต่างๆ โดยคุณสมบัติของ ไม้อัด นั้นนอกจากจะมีความคงทน แข็งแรง แล้ว ทางผู้ผลิตหรือจัดจำหน่าย บางแห่งก็จะพ่วงเอาคุณสมบัติพิเศษ มาให้เลือกใช้กันอีกด้วย อย่างเช่น ความสามารถของการกันน้ำ กันปลวกและแมลงจำพวกกินเนื้อไม้ได้ เป็นอย่างดี ที่เขาจะใช้กาวชนิดพิเศษในการยึดเนื้อมา ผสมกับน้ำยากันปลวก เข้าไปในแต่ละชั้นของไม้ ด้านนอกอาจจะมีการทาน้ำยาพิเศษเคลือบ

ขนาดของไม้อัดจะมีความหนาประมาณ 3 มิลลิเมตร ถึง 20 มิลลิเมตร ส่วนขนาดทั่วไปของแผ่นไม้ที่จำหน่ายกันทั่วไป จะอยู่ที่ 1.22 x 2.45 เมตร หรือ 4 x 8 ฟุต

ข้อดีข้อเสีย
ไม่บิดงอง่าย คงทน แข็งแรงราคาค่อนข้างสูง
สามารถป้องกันหรือโดนน้ำได้ระดับหนึ่งมีน้ำหนักมาก
สามารถทนความชื้นได้
สามารถกันปลวกได้
มีความสวยงาม ผิวเรียบ

Particle Board (ไม้ปาติเกิ้ล)

ไม้ปาติเกิ้ล ส่วนมากจะเป็นการนำเศษไม้ยางพารา ขนาดเล็ก แต่ไม่ได้บดละเอียดถึงกับเป็นผง หรือ ที่เรียกว่า “ขี้เลื่อย (Sawdust หรือ Wood Dust)” โดยขี้เลื่อยเหล่านี้จะมีขนาดที่ไม่เท่ากัน บางเศษก็มีขนาดใหญ่ บางเศษก็มีขนาดเล็ก แล้วนำมาผ่านกรรมวิธี อัดบดเป็นแผ่น ผสมกาว และ ผ่านกระบวนการทางเคมีจนได้แผ่นไม้ต่างขนาดกัน อาทิ แผ่นไม้ขนาด 1.20 x 2.45 เมตร โดยความหนาของไม้ที่นิยมใช้มาทำเฟอร์นิเจอร์ จะมีความหนาต่อแผ่นอยู่ที่ประมาณ 15 มิลลิเมตร และ 25 มิลลิเมตร เท่านั้น แล้วแต่คุณภาพ

ข้อดีข้อเสีย
ราคาถูกมากวัตถุดิบรวมไม่แข็งแรง
มีน้ำหนักเบา ขนย้ายสะดวกไม่สามารถโดนน้ำได้
เป็นที่นิยม หาซื้อได้ง่ายไม่สามารถพ่นสีบนตัวงานได้
ปิดผิด PVC ได้แต่ไม่เรียบ
เชื้อราขึ้นได้ ต้องหมั่นดูแลไม่ให้ชื้น

Medium-Density Fiberboard (ไม้ MDF)

ไม้ MDF ผลิตโดยการน้ำชิ้นไม้มาแปรรูปอย่างละเอียดผสมกับกาวชนิดพิเศษ แล้วผ่านกระบานการอัดเป็นแผ่นด้วยคุณภาพสูง ไม้ที่นิยมนำมาใช้คือ ไม้ยูคาลิปตัสและไม้ยางพารา ผิดไม้จะมีความเรียบเนียน เนื้อแน่น ไม่มีรูพรุน นิยมปิดผิวด้วยแผ่นวีเนียร์ แผ่นลามิเนต หรือ เมลามีน

โดยขนาดมาตรฐานของ แผ่นไม้ MDF ที่ขายกันตามท้องตลาด อยู่ที่ 1.22 x 2.45 เมตร (หรือ 4 x 8 ฟุต) ต่อแผ่น ความหนาของแผ่นไม้ MDF ที่นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 3 มิลลิเมตร ถึง 25 มิลลิเมตร

ข้อดีข้อเสีย
ความหนาแน่นของแผ่นไม้สูงกว่าไม้ปาติเกิ้ลมีราคาสูงกว่าไม้ปาติเกิ้ล
ผิวละเอียด เรียบเนียน สม่ำเสมอมีน้ำหนักมากกว่าไม้ปาติเกิ้ล
มีความแข็งแรงมากกว่า รับน้ำหนักมากกว่าต้องระวังเรื่องความชื้น
สามารถพ่นสี ทาสีลงเนื้อไม้ได้ขณะตัดไม้ฝุ่นเยอะมาก
สามารถทนน้ำได้ดีกว่าไม้ปาติเกิ้ล

High Moisture Resistance Board (ไม้ HMR)

ไม้ HMR  (High Moisture Resistance board) มีคุณสมบัติขึ้นชื่อในเรื่องของการทนทานต่อความชื้น ผ่านกระบวนการผลิตโดยการนำชิ้นไม้ยูคาลิปตัสมาสับและบดจนเป็นเส้นใยละเอียดแล้วอัดประสานด้วยกาวชนิดพิเศษ

มักจะถูกนำไปใช้ทดแทนในส่วนที่ต้องการตกแต่งให้ได้กลิ่นอายของความเป็นไม้ แต่พื้นที่บริเวณนั้นมีโอกาสสัมผัสกับความชื้น เช่น ห้องครัว หรือห้องน้ำโซนแห้ง ซึ่งไม้ HMR เมื่อนำไปตัดหรือตกแต่ง สามารถทำได้ง่ายโดยที่เนื้อไม้ไม่หักหรือบิ่น

ลักษณะของไม้ HMR จะเป็นสีเขียวและมีพื้นผิวที่เรียบเนียนสม่ำเสมอกัน ส่วนสีเขียวของไม้อัดชนิดนี้ เป็น pigment สีที่เพิ่มเข้าไปในกระบวนการผลิต ซึ่งสีอาจจางและเปลี่ยนไปเมื่อถูกแดดหรือโดนความร้อน แต่จะไม่มีผลกับคุณภาพ ความคงทน และความสามารถในการทนชื้นของเนื้อไม้

โดยขนาดมาตรฐาน แผ่นไม้ HMR ที่ขายกันตามท้องตลาด อยู่ที่ 1.22 x 2.45 เมตร (4 x 8 ฟุต) ส่วนความหนาที่นิยมนำมาทำเฟอร์นิเจอร์ มีหลากหลายขนาด ตั้งแต่ 3 มิลลิเมตร ถึง 25 มิลลิเมตร

ข้อดีข้อเสีย
ผิวไม้เรียบเนียนมีราคาสูงกว่าไม้ MDF
ทำสีได้สวยงามกันน้ำได้ดี แต่แช่น้ำโดยตรงไม่ได้
ตัดแต่ง บาก เจาะ ได้ง่าย เพราะเนื้อไม้มีความละเอียด
มีหลายหลายขนาด
ทนความชื้นสูง แต่ไม่สามารถแช่น้ำได้โดยตรง
ฉลุลายหรือแกะสลายได้

สามารถรับชมผลงานของเราได้ที่ : https://living-inhabit.com/

Facebook : https://www.facebook.com/Living.Inhabit

E-mail : info@living-inhabit.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *